สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจวิทยุการบินแห่งประเทศไทย Aerothai State Enterprise Union

เว็บบอร์ดกระดานสนทนาเรื่องวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ผู้เขียน : aeroseraSapol Singhadara   หัวข้อ : เรื่องวันหยุดพักผ่อนประจำปีอ่าน 5173 / ความคิดเห็น 0
รูปประจำตัว
aeroseraSapol Singhadara
  • 30 กระทู้ที่เริ่มไว้
  • 3 สิงหาคม 2554
รูปไอคอน
หัวข้อ : เรื่องวันหยุดพักผ่อนประจำปี
9/4/2561 14:58:00

ขอยกประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย เล็กๆ น้อยๆ แต่ใกล้ตัวเรา และมีท่านสมาชิกสอบถามมาเป็นจำนวนมาก คือ วันหยุดพักผ่อนประจำปี    สิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปี   และการสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปี โดยยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วในภาคเอกชน ภายใต้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยเทียบเคียงได้กับรัฐวิสาหกิจ ภายใต้พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ เช่นกัน

 

                ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน มาตรา ๓๐ กำหนดไว้ว่า “ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

 

ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้ 

นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆไปได้ 

 

สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปีนายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้ 

  

มาตรา๖๔ ในกรณีที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดงานหรือจัดให้ลูกจ้างหยุดงานน้อยกว่าที่กำหนดไว้ตาม มาตรา ๒๘มาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖๒ และมาตรา ๖๓ เสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด 

 

 

 

 


มาตรา ๖๗ “ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตาม มาตรา ๑๑๙ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๓๐

ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาหรือนายจ้างเลิกจ้าง ไม่ว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นกรณีตามมาตรา ๑๑๙ หรือไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๓๐”

 

องค์ประกอบกฎหมายที่สำคัญ คือ

๑.  ลูกจ้างทำงานครบ ๑ ปี (การนับอายุงาน ให้นับแต่วันเริ่มต้นเข้าทำงานวันแรกจนครบ ๓๖๕ วัน หรือ ๑ ปี ไม่ว่าจะเป็นสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา หรือสัญญาจ้างทดลองงาน หรือสัญญาจ้างทั่วๆ ไปก็ตาม ให้นับระยะเวลารวมเข้าด้วยกันทั้งหมด )    

๒.  มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า  วันทำงาน สิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปี   วันทำงาน ให้นับเฉพาะวันทำงานเท่านั้น   วันหยุดประจำสัปดาห์   วันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดอื่น ๆ นายจ้างกำหนด ไม่ให้นับรวมด้วย แม้ว่าวันที่ในการลาหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น จะมีวันหยุดตามประเพณี หรือมีวันหยุดประจำสัปดาห์คั่นหรือไม่ก็ตาม ไม่ให้นับวันหยุดดังกล่าวรวมด้วย

๓. นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง  

๔. หรือ ตกลงกับลูกจ้างกำหนดวันหยุด ล่วงหน้า ได้

๕. นายจ้างและลูกจ้าง สามารถตกลงกันสะสมวันหยุด หรือเลื่อนวันหยุดพักผ่อนฯ ได้

๖. ลูกจ้างทำงานยังไม่ครบ  ปี นายจ้างสามารถกำหนดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนฯ ตามส่วนก็ได้

 

พิจารณาตามข้อกฎหมายดังกล่าวสามารถ สรุปประเด็นง่าย ๆ ได้ดังนี้

พนักงานทำงานครบหนึ่งปี ไม่ว่าจะเข้าทำงานวันไหนก็ตาม นับไป ๓๖๕ วัน หรือ ๑ ปี เมื่อครบ ๑ ปี ในวันใด   สิทธิของลูกจ้างเกิดทันที คือ มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี  วัน

 

แม้ลูกจ้างมีสิทธิ แต่หน้าที่กำหนดวันหยุด ฯ เป็นของนายจ้าง   หน้าที่ของนายจ้าง คือ กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างได้ใช้สิทธิเป็นการล่วงหน้า  ซึ่งการกำหนดในที่นี้ คือ การกำหนดวัน    เช่น   กำหนดเป็นวันที่ไว้ล่วงหน้า ตลอดทั้งปี  วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ,วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๔........... เป็นต้น

หรืออาจกำหนดเป็นช่วงวันเวลาได้ เช่น ให้ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ ตั้งแต่ วันที่  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หรือ ให้ใช้สิทธิให้หมดภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ของทุกปี อย่างนี้เป็นต้น  

 

กรณีอย่างนี้ ถือว่า นายจ้างได้กำหนดวันเวลา หรือช่วงระยะเวลาที่ให้ลูกจ้างได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีแล้ว หากลูกจ้างไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ตามวันเวลาที่นายจ้างกำหนด ถือว่าสละสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปีนั้น ๆ   

 

กรณีนายจ้างกำหนดไว้ในระเบียบว่า การลาหยุดพักผ่อนประจำปี   ให้ลูกจ้างยื่นความประสงค์ขอลาหยุดพักผ่อน ต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า  วัน   และต้องได้รับอนุมัติให้หยุดก่อน จึงจะสามารถหยุดได้ นั้น    เป็นเพียงการกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการอนุมัติให้หยุดเท่านั้น ไม่ถือว่ายนายจ้างได้กำหนดให้ลูกจ้างใช้สิทธิแล้ว

 

 

 

 

 

 


นายจ้างกำหนดหรือไม่กำหนดให้ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี มีผลอย่างไร  

หากนายจ้างไม่ได้กำหนดวันให้ลูกจ้างได้ใช้สิทธิ ถือว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ส่งผลให้ลูกจ้างไม่ได้ใช้สิทธิในปีนั้นๆ นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามจำนวนวันที่ลูกจ้างไม่ได้ใช้สิทธิแทน เสมือนหนึ่งมาทำงานตามปกติ  ตามมาตรา ๖๔ เช่น พนักงานรายวัน จะได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อกว่า ๒ เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงฯ พนักงานรายเดือนจะได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่า  เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ฯ ตามมาตรา ๖๒

 

นอกจากนี้ ยังต้องปฏิบัติตาม มาตรา ๖๗ ด้วย คือ หากเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา ๑๑๙ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้สิทธิในปีนั้นตามส่วน

หรือหากลูกจ้างมีความประสงค์ขอลาออก   นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับด้วย

 

การสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปี

วันหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างและลูกจ้าง สามารถตกลงกันสะสมได้ เช่น  นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้  วัน  โดยนายจ้างลูกจ้างตกลงให้ลูกจ้างสามารถสะสมวันหยุดได้ไม่เกิน  ปี หรือ รวมกันสูงสุดไม่เกิน ๑๒ วัน เป็นต้น  

นั่นหมายความว่า ในปีที่ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีจำนวน ๖ วัน หากลูกจ้างไม่ได้ใช้สิทธิ   ลูกจ้างมีสิทธิสะสมและนำไปใช้สิทธิหยุดในปีถัดไปได้ เช่น  

 

ปี ๒๕๕๔ ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีจำนวน  วัน     ลูกจ้างไม่ได้ใช้สิทธิเลย

 

ดังนั้นในปี ๒๕๕๕   ลูกจ้างจึงมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้รวม ๑๒ วัน  คือของปี ๒๕๕๔ จำนวน  วัน และของปี ๒๕๕๕  อีกจำนวน  วัน 

มีปัญหาต่อว่า หากพนักงานไม่ได้ใช้สิทธิเลย ทั้งสองปี คือ ปี ๒๕๕๔ และ ปี ๒๕๕๕ แล้วในปี ๒๕๕๖   ลูกจ้างจะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี กี่ วัน

คำตอบคือ  ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีจำนวน ๑๒ วัน   คือของปี ๒๕๕๕ และ ของปี ๒๕๕๖ เท่านั้น   ส่วนสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของปี ๒๕๕๔ ถือว่าเลยกำหนด  ปี  ลูกจ้างไม่ใช้สิทธิ จึงถือว่าสละสิทธิ

 

จากกรณีตัวอย่างข้างต้น   มีปัญหาต่อว่า   หากลูกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ในปี ๒๕๕๔  ไป  วันใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ในปี ๒๕๕๕ ไป  วัน  

ถามว่า ในปี ๒๕๕๖ ลูกจ้างจะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีจำนวน กี่ วัน

คำตอบคือ ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี ๒๕๕๖ จำนวน ๑๒ วัน  

 

เนื่องจาก ในปี ๒๕๕๔ ใช้ไป  วัน สะสมได้ในปีถัดไป คือ ปี ๒๕๕๕ จำนวน ๓ วัน  รวมเป็น ๙  วัน    เมื่อใช้สิทธิไปอีก  วัน    จึงเหลือสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของปี ๒๕๕๕ อีก  วัน      

สิทธิในปี ๒๕๕๕  สามารถสะสมไปใช้ในปี ๒๕๕๖ ได้ ตามที่นายจ้างกำหนด คือสะสมไม่เกิน ๒ ปี หรือไม่เกิน ๑๒ วัน      

ดังนั้นในปี ๒๕๕๖  ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีจำนวน ๑๒ วัน  

 

 

มีปัญหาว่า แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของปีใด  

คำตอบ    โดยปกติวิสัย ภาระหนี้สินหรือภาระใด ๆ ที่เกิดขึ้นก่อน  การชำระหนี้สินหรือการปลดภาระที่เกิดขึ้น   ย่อมต้องเป็นไปตามลำดับก่อนหลัง   ดังนั้นแม้ไม่กำหนดไว้ว่า จะให้ลูกจ้างใช้สิทธิของปีใดก่อน   ก็ย่อมพิจารณาได้ว่า สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง สิทธิของปีใดเกิดขึ้นก่อน   ก็ย่อมต้องใช้สิทธิของปีนั้นเป็นลำดับแรกจนครบถ้วน 

 

กรณีปัญหาหากต้องการความชัดเจน นายจ้างก็สามารถกำหนดเงื่อนไขไว้ได้ เช่น การใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม ให้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ครบถ้วนก่อน  หรือกำหนดว่า การใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม  ให้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเรียงลำดับตามปีปฏิทิน เป็นต้น  อย่างนี้ก็หมดปัญหาข้อโต้แย้งว่าเป็นการใช้สิทธิของปีใดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๓๓๗/๒๕๔๙

ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดให้พนักงานที่ทำงานครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ ๖ วัน นายจ้างอนุญาตให้พนักงานหยุดงานช่วงไม่มีงานถึงปีละ ๓๐ วัน จะถือว่าให้หยุดพักผ่อนและหรือไม่

                บริษัท เฟิสท์ทรานสปอร์ต จำกัด (โจทก์) VS นางสาวศิรินาฎ (จำเลย)

                โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จ้าง ช ษ ส ค และ ต เข้าทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งพนักงานขับรถ ลูกจ้างของโจทก์ดังกล่าวได้ร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงาน  สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ ๗ และจำเลยได้มีคำสั่งที่ ๑๑/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๗ ให้โจทก์จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างดังกล่าวเป็นเงินคนละ ๒,๐๔๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๐,๒๐๐ บาท โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงและหลักกฎหมาย โจทก์มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ ๑ ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ๖ วันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างไม่มีงานหรือไม่ได้ขับรถก็สามารถขอลาหยุดโดยไม่ต้องมาทำงานปีละไม่น้อยกว่า ๓๐ วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง และวันหยุดดังกล่าวได้รวมกับวันหยุดพักผ่อนประจำปีรวม ๖ วันเข้าด้วยแล้ว เพราะในแต่ละปีมีเวลา ๔ ถึง ๕ เดือนจะมีผู้ว่าจ้างใช้บริการของโจทก์น้อย ลูกจ้างหยุดงานโดยได้รับค่าจ้าง การลาของลูกจ้างดังกล่าวไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นการลาประเภทใด แต่เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นการลาหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละมากกว่า ๖ วันทำงาน ขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ ๑๑/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๗

                จำเลย (พนักงานตรวจแรงงาน) ให้การว่า จากการสอบข้อเท็จจริง    ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้จัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างที่มาร้องเรียนต่อจำเลย  แม้ลูกจ้างดังกล่าว  ซึ่งเป็นพนักงานขับรถเมื่อไม่ได้ขับรถก็สามารถลาหยุดงานได้มากกว่าปีละ ๖ วันทำงานโดยไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นวันหยุดประเภทใด ก็ไม่อาจรับฟังได้ว่านายจ้างได้จัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีหรือลูกจ้างใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี ขอให้ยกฟ้อง

 

 

 

 


                ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานพิจารณาแล้วมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์โจทก์ว่า การที่โจทก์ให้ลูกจ้างตำแหน่งพนักงานขับรถลาหยุดงานในแต่ละปีช่วงที่มีผู้ว่าจ้างใช้บริการน้อยปีละ ๓๐ วัน โดยได้รับค่าจ้างซึ่งโจทก์ถือว่าได้รวมวันหยุดพักผ่อนระจำปี ๖ วันด้วยแล้วนั้น จะเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้ตามสภาพของงานโจทก์ให้ลูกจ้างหยุดงานโดยได้รับค่าจ้างมากกว่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี แต่ก็ไม่กำหนดยกเว้นในที่ใดว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีก และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็ได้กำหนดให้พนักงานที่ทำงานติดต่อกันมาครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีโดยได้รับค่าจ้างปีละ ๖ วันทำงาน ทั้งนี้ บริษัทฯ จะกำหนดล่วงหน้าให้หรือตามที่ตกลงกัน ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กำหนดล่วงหน้าให้ในวันใดในแต่ละปีเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือมีการตกลงกันแต่อย่างใด ดังนั้นเมื่อลูกจ้างทั้งห้าคนทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปี จึงมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงาน ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าโจทก์ต้องจ่ายเงินค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๒๕๔๕ ถึง ๒๕๔๖ ให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างคนละหกวันทำงานจึงชอบแล้ว พิพากษายืน

 



เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อน เข้าสู่ระบบ
 
Online:  7
Visits:  1,068,020
Today:  193
PageView/Month:  7,167